วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยี  คือ  การใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เครื่องมือ หลักการ ความคิด และเทคนิคต่างๆที่มีการจัดวางระเบียบไว้แล้วมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้งานที่ทำนั้น เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น เดิมบริษัทใช้เทคโครกราฟมีลักษณะเป็นจานกระดาษในการคำนวนหาระยะทางในการขนส่งสินค้าของบริษัท ในปัจจุบันเริ่มนำเอาระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก หรือ จีพีเอส ย่อมาจากคำว่า ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก มาปรับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

Technology is the use of knowledge, science, tools, principles, ideas and techniques that are organized and applied. To do that. The company uses a turquoise sheet as a plate to calculate the distance in the cargo of the company. Nowadays, it is used to identify the position on the earth or GPS stands for the word. Global positioning system To deploy more effectively.

สารสนเทศ  คือ ข้อมูล ทีผ่านการจัดเก็บ รวบรวม และเรียบเรียง เพื่อให้เกิดความสะดวกเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ใช้งาน เช่น ข้อมูลจาก ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก หรือ จีพีเอส ผู้ใช้งานสามารถใช้ข้อมูลในเรื่องของ ระยะทางที่วิ่ง/วัน/เดือน ปริมาณการใช้น้ำมัน/วัน/เดือน เป็นต้น เพื่อหาระยะทางวิ่งที่ใกล้และปลอดภัยที่สุด เป็นการช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้

Information is information that is collected and compiled. To make it easy for people to use, such as information from the positioning system on the earth or GPS users can use the information in the subject. Running distance / day / month Oil consumption / day / month etc. to find the closest and safest running distance. It saves fuel.

เทคโนโลยีสารสนเทศ   คือ  การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้งานที่เกี่ยวกับการประมวลข้อมูล ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับเทคโลโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยเกี่ยวกับการสื่อสารและการส่งผ่านข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เช่น การติดตามด้วยระบบ จีพีเอส สารมารถดูผ่านคอมพิวเตอร์ได้ สามารถดูระยะทางว่าเหลืออีกกี่กิโลเมตรจะถึงโรงงานลูกค้า เป็นต้น

Information technology is the implementation of information technology. The technology used is the combination of computer technology and communication technology to help with communication and data transmission more convenient, such as GPS tracking system to see through the computer. Can see how many miles to reach the customer factory.

ดาต้า   คือ  ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ คน สิ่งของ ฯลฯ ที่เราสนใจและสามารถนำมาใช้งานได้ เช่น ก่อนลงสินค้า จะมีการโทรแจ้งน้ำหนักการชั่งทุกครั้งที่น้ำหนักไม่ตรงกับใบชั่งที่ทางบริษัทออกให้กับคนขับรถ และ หลังลงสินค้า หากน้ำหนักที่ลงไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบน้ำหนักของทางบริษัท ก็จะทำการเก็บข้อมูลของเครื่องชั่งลูกค้าไว้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบในเรื่องส่วนต่างน้ำหนักสินค้า

Data is the facts about the events, people, things, etc. We are interested in and can be used as before the product will call the weighing weight every time the weight does not match the balance that the company issued to people. Drive the car and after the item if the weight does not meet the letter on the weight of the company. It will store the data of the customer scales as a comparison of the weight difference.

ฐานความรู้  คือ สารสนเทศที่ได้จัดเป็นโครงสร้างความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความเชียวชาญ และมีคุณค่า เพื่อใช้แก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่างๆได้ เช่น ในการชั่งน้ำหนักสินค้าแต่ละที่ส่วนใหญ่บริษัทจะเสียผลประโยชน์ จึงได้นำเอาข้อมูลของเครื่องชั่งแต่ละที่มาวิเคราะห์เพื่อไม่ให้บริษัทเสียผลประโยชน์ และเป็นการรักษาไว้ซึ่งคุณภาพและปริมาณของสินค้าด้วย จึงให้คนขับรถสังเกตตำแหน่งของการจอดรถบนตราชั่งทุกครั้ง เพื่อหาจุดจอดที่ Balance เมื่อได้จุดจอดที่แน่นอนแล้วก็ทำการแจ้งคนขับที่เหลือให้จอดในตำแหน่งทีใกล้เคียงที่สุดต่อไป และทำบันทึกเป็นไว้ เป็นต้น


Knowledge is information that is structured knowledge, understanding, experience, expertise and value to solve problems in the operation, such as weighing each product, most companies will lose benefits. The data of each scales is analyzed so that the company does not lose any benefits. And maintain the quality and quantity of goods. Make sure the driver is aware of the parking position on the scale. To find the landing point at the balance on the exact parking spot and then notify the remaining driver to park at the closest location next. And save it as a.


โครงสร้างสารสนเทศ ประกอบด้วย

  ระดับล่างสุด  เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล เป็นการดำเนินงานประจำวันภายในองค์กร เช่น การบันทึกจำนวนเบิกของ-จ่ายของ การบันทึกเกี่ยวกับการเดินทางส่งสินค้าของรถ เป็นต้น

  ระดับสอง  เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวางแผน-ตัดสินใจ และควบคุมสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน เช่น การวางแผนเพื่อนำรถเข้าเช็คตามระยะที่กำหนดไว้ในแต่ละครั้ง เป็นต้น

  ระดับสาม  เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสื่อสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลางเพื่อใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้น เช่น สื่อสารสนเทศที่เป็นรายงานสู่เป้าหมายการขนส่งประจำเดือน เป็นต้น

  ระดับที่สี่  เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสื่อสารสนเทศำหรับผู้บริหารระดับสูง สำหรับใช้วางแผนในระยะยาว เช่น สื่อสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า แนวโน้มด้านการตลาด สถานะคู่แข่งการตลาด เป็นต้น

Information structure consists of

  The lowest level is using the computer to process the data. It is a daily operation within the organization, such as the record of the pay-out. The record of the trip of the car.

  Second level is the use of computer for decision-making. And control things related to the daily tasks, such as planning to bring the car into the check at the specified time each time.

  Three level is the use of computers for information management for middle managers to use for management and short-term planning, such as information media to report on transportation goals, etc.

  The fourth level is computerized communication for senior executives. For long-term planning, such as information media related to customers. Marketing Trends Competitor status, marketing etc.


วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ  ประกอบด้วย

  ยุคการประมวลผลข้อมูล เป็นยุคแรกๆในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อวัตถุประสงค์ คือ การคำนวณและการประมวลผลข้อมูลประจำวัน เป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร เช่น การเก็บรักษาบันทึกต่างๆ เป็นต้น

  ยุคระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นยุคที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ การติดตามผล และวิเคราะห์งานของผู้บริหาร เช่น รายงานยอดการจัดส่งสินค้า เป็นต้น

  ยุคระบบจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เป็นการใช้เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการนำองค์กรไปสู่เป้าหมาย คือ ความสำเร็จ

  ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ  เป็นการใช้ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือในการจัดทำระบบสารสนเทศ โดยเน้นความคิดของการให้บริการสารสเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เป็นต้น

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

(1)อธิบายความหมาย  
  1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
      ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่อง คอมพิวเตอร์ เมนบอร์ด(Main board) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้างที่เกี่ยวข้อง
  2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม(Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์
      ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
ซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท(Software)
    2.1ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ทำหน้าที่จัดการและควบคุมทรัพยากรต่างๆของคอมพิวเตอร์
       และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่างๆตั้งแต่ผู้เริ่มใช้เปิดคอมพิวเตอร์ 
    2.2ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงาน
      ด้านใดด้านหนึ่งโดย เฉพาะตามผู้ใช้ต้องการ
  3.บุคลากร (People ware) หมายถึง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆและผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในหน่วยงานนั้น
      บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้นมีความสำคัญมากเพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นต้องมีการ
      จัดเตรียมเปลี่ยนระบบจัดเตรียมโปรแกรมดำเนินงานต่างๆ
  4.ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ
      โดยอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มา
      จากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญาลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมี
      ความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชื่อนักเรียน  เพศ  อายุ เป็นต้น
  5.สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์หรือความหมายนำไปใช้                      ประโยชน์ได้ เช่น การเก็บข้อมูล การขายรายวันแล้วนำการประมวลผล เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด         เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป
(2) หากเป็นเจ้าของธุรกิจ ร้านขายของสะดวกซื้อ เพราะมีการนำเอา Peopleware คือ บุคลากรมาใช้ในการคิดราคาสินค้าแต่ละรายการ อีกทั้งยังมี Hardware คือ เครื่องคิดเงินแบบมีลิ้นชักเก็บเงินมาใช้ เวลาผู้มาใช้บริการ(ลูกค้า)นำสินค้ามาคิดราคา พร้อมกับการนำ Software มาให้บริการในการเติมเงินโทรศัพท์แบบออนไลน์ได้ ณ จุดที่ชำระค่าสินค้าด้วย
(3)รูปแบบระบบสารสนเทศ
สวนผลไม้ มีผลไม้
7 ชนิด
4 ชนิด
8 ชนิด
3 ชนิด
2 ชนิด
9 ชนิด


การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์

การประมวลผลข้อมูล สามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

  1. ขั้นเตรียมข้อมูล ( Input ) เป็นการจัดเตรียมข้อมูลที่รวบรวมมาแล้วให้อยู่ในลักษณะที่สะดวกต่อการประมวลผล แบ่งเป็นขั้นตอนย่อย ๆ ดังนี้
        ก. การลงรหัส(Coding) คือ การใช้รหัสแทนข้อมูลจริง ทำให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่สะดวกแก่การประมวลผล ทำให้ประหยัดเวลาและเนื้อที่ รหัสอาจเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับเพศ ให้รหัส 1 แทนเพศชาย รหัส 2 แทนเพศหญิง เป็นต้น
        ข. การตรวจสอบแก้ไขข้อมูล (Editing) เป็นการตรวจสอบความถูกต้อง และความเป็นไปได้ของข้อมูล และปรับปรุงแก้ไขเท่าที่จะทำได้หรือคัดข้อมูลที่ไม่ต้องการออกไป เช่น คำตอบบางคำตอบขัดแย้งกันก็อาจดูคำตอบจากคำถามข้ออื่น ๆ ประกอบ แล้วแก้ไขตามความเหมาะสม
        ค. การแยกประเภทข้อมูล (Classifying) คือการแยกประเภทข้อมูลออกตามลักษณะงานเพื่อสะดวกในการประมวลผลต่อไป เช่น แยกตามคณะวิชา แยกตามเพศ แยกตามอายุ เป็นต้น
        ง. การบันทึกข้อมูลลงสื่อ (Media) ที่เหมาะสม หมายถึง การจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในสื่อ หรืออุปกรณ์ที่อยู่ในรูปที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ และนำไปประมวลได้ เช่น บันทึกข้อมูลลงในจานแม่เหล็ก หรือเทปแม่เหล็ก เพื่อนำไปประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อไป
  2. ขั้นตอนการประมวลผล (Processing) เป็นวิธีการจัดการกับข้อมูล โดยนำข้อมูลที่เตรียมไว้แล้วเข้าเครื่อง แต่ก่อนที่เครื่องจะทำงานต้องมีโปรแกรมสั่งงาน ซึ่งโปรแกรมเมอร์(Processing) เป็นผู้เขียน เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ออกมาและยังคงเก็บไว้ในเครื่องขั้นตอนต่าง ๆ อาจเป็นดังนี้
        ก. การคำนวณ (Calculation) ได้แก่ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร และทางตรรกศาสตร์ เช่น การเปรียบเทียบค่าต่าง ๆ
        ข. การเรียงลำดับข้อมูล(Sorting) เช่น เรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก หรือมากไปน้อยหรือเรียงตามตัวอักษร A ถึง Z เป็นต้น
        ค. การดึงข้อมูลมาใช้(Retrieving) เป็นการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเพื่อนำมาใช้งาน เช่น ต้องการทราบยอดหนี้ของลูกค้าคนหนึ่ง หรือต้องการทราบยอดขายของพนักงานคนหนึ่ง เป็นต้น
        ง. การรวมข้อมูล (Merging) เป็นการนำข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุด ขึ้นไปมารวมเป็นชุดเดียวกัน เช่น การนำเอาเงินเดือนพนักงาน รวมกับเงินค่าล่วงเวลา จะได้เป็นเงินที่ต้องจ่ายให้แก่พนักงาน
        จ. การสรุป (Summarizing) เป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดให้อยู่ในรูปแบบสั้น ๆ กะทัดรัดตามต้องการ เช่น การสรุปรายรับรายจ่าย หรือ กำไรขาดทุน
        ฉ. การสร้างข้อมูลชุดใหม่ (Reproducing) เป็นการสร้างข้อมูลชุดใหม่ขึ้นมาจากข้อมูลเดิม
        ช. การปรับปรุงข้อมูล (Updating) คือ การเพิ่มข้อมูล (Add) การลบข้อมูล (Delete)  และการเปลี่ยนค่า (change) ข้อมูลที่มีอยู่ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
  3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ (Output) เป็นงานที่ได้หลังจากผ่านการประมวลผลแล้วเป็นขั้นตอนในการแปลผลลัพธ์ที่เก็บอยู่ในเครื่อง ให้ออกมาอยู่ในรูปที่สามารถเข้าใจง่ายได้แก่ การนำเสนอในรูปแบบรายงาน เช่น แสดงผลสรุปตารางรายงานการบัญชี รายงานทางสถิติ รายงานการวิเคราะห์ต่าง ๆ หรืออาจแสดงด้วยกราฟ เช่น แผนภูมิ หรือรูปภาพสรุปขั้นตอนการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

โครงสร้างข้อมูล (Data Structure) ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่มีขนาดต่างกัน ดังนี้

1. บิต (Bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งเป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปใช้งานได้ ได้แก่ เลข 0 และ เลข 1
2. ไบต์ (Byte) หรือ อักขระ (Character) ได้แก่ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ ตัว เช่น 0,1…9,A, B,…Z   ซึ่ง 1 ไบต์ จะเท่ากับ 8 บิต หรือ ตัวอักขระ 1 ตัว
3. ฟิลด์ (Flied) คือ อักขระ ตั้งแต่ ตัวขึ้นไป รวมกันเป็น ฟิลด์ เช่น เลขประจำตัว ชื่อสกุล เป็นต้น
4. เรคคอร์ด (Record) คือ การนำเอาฟิลด์หลายฟิลด์และมีความสัมพันธ์มารวมกลุ่มกัน เช่น นักเรียนแต่ละคนจะมีข้อมูลที่เกี่ยวกับ ชื่อ สกุล อายุ เพศ เกรดเฉลี่ยฯลฯ โดยข้อมูลในลักษณะนี้คือ 1 เรคคอร์ดนั่นเอง
5. แฟ้มข้อมูล หรือ ไฟล์ (Flies) คือ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน และเป็นเรื่องเดียวกันเช่น แฟ้มข้อมูลนักเรียนห้อง ม.1/1 จำนวน 50 คน ทุกคนจะมีข้อมูลเกี่ยวกับ ชื่อ สกุล เพศ อายุ เกรดเฉลี่ย ฯลฯ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ของนักเรียนจำนวน 50 คนนี้ เรียกว่า แฟ้มข้อมูล 
6. ฐานข้อมูล (Database) คือ การเก็บรวบรวมไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องมารวมกัน



สามมารถนำมาใช้ได้ทั้ง 3 ระบบ คือ
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น ถูกนำมาใช้ในการจะทำ Organization Chart เพื่อให้ทราบถึงการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน




ฐานข้อมูลแบบเน็ตเวิร์ค ถูกนำมาใช้ในขั้นตอนการดำเนินงานเตรียมการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้า จากคลังเก็บสินค้า




ฐานข้อมูลแบบเชิงสัมพันธ์ ถูกนำมาใช้ในขั้นตอนการออกเอกสารกำกับสินค้า



ความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบตซ์และแบบเรียลไทม์
วิธีการประมวลผล 
1.    วิธีการประมวลแบบแบตซ์ (Batch Processing) เป็นการประมวลผลโดยเก็บรวบรวมข้อมูลหรือคำสั่งไว้ปริมาณ หนึ่งแล้วจึงนำงานชุดหรือแบตซ์ นั้นส่งเข้าประมวลผลต่อไป วิธีการประมวลผลแบบนี้มีใช้มาตั้งแต่คอมพิวเตอร์ยุคแรก การประมวลผลแบบแบตซ์พิจารณาได้ 2 ด้าน คือ ในด้านของผู้ใช้เครื่องและในด้านของผู้มีหน้าที่ควบคุมเครื่อง ลักษณะงานที่เหมาะสมกับการ ประมวลผลแบบแบตซ์ คือ - งานที่มีข้อมูลส่งเข้าประมวลผลจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการรอเพื่อบันทึกข้อมูลลงสื่อข้อมูลคอมพิวเตอร์

2.    วิธีการประมวลผลแบบออนไลน์ แนวความคิดของการประมวลแบบออนไลน์ (On-Line Processing) มาจากข้อเท็จ จริงที่ว่า หน่วยประมวลผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วกว่าหน่วยรับและแสดงผล จึงมีผู้คิดนำเครื่องเทอร์มินัลมาใช้ในการรับและแสดงผลข้อมูลโดยใช้เชื่อม โยงเข้าหับหน่วยประมวลผลกลาง ทำให้การป้อนข้อมูลไม่ต้องบันทึกสื่อข้อมูล สามารถส่งเข้าประมวลผลโดยตรงและผลลัพธ์แสดงผ่านเครื่องเทอร์มินัลได้โดยตรง เช่นกัน การประมวลผลแบบออนไลน์ แบ่งได้เป็น 2    ระบบย่อย คือ
  - ระบบไทม์-แชริง (Time-Sharing) เป็นระบบออนไลน์ ซึ่งมีผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ผ่านเทอร์มินัลจากหลายงาน ผู้ใช้จึงมีชุดคำสั่งของตนเองส่งเข้าไปในเครื่องในเวลาเดียวกับผู้ใช้ราย อื่นได้ วิธีการนี้จึงดูเหมือนว่าผู้ใช้แต่ละคนเป็นเจ้า ของคอมพิวเตอร์เอง
  - ระบบเรียล-ไทม์ (Real-time) เป็นระบบออนไลน์ ที่มีลักษณะคล้ายกับไทม์-แชริง แต่แตกต่างกันที่งานที่ประมวลผล เป็นงานเดียวมีผู้ร่วมใช้หลายคน เทอร์มินัลทุกจุดถูกควบคุมด้วยโปรแรกมเดียวกันเพื่อให้เครื่องสามารถติดต่อ กับผู้ใช้ทุก คน จึงมีการแบ่งโปรแกรมเป็นชุดย่อย ๆ ในโปรแกรมชุดย่อยเหล่านี้ทำงานไปพร้อม ๆ กันได้
ระบบการประมวลแบบออนไลน์ เหมาะสมกับงานซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้

  งานที่มีข้อมูลส่งเข้าประมวลผลจำนวนน้อย
  งานที่ไม่มีการปรับปรุงแฟ้มข้อมูลทั้งหมดในแต่ละครั้ง แต่เป็นการปรับปรุงบางรายการเท่านั้น

  งานที่มีการแสดงผลจำนวนน้อย ไม่มีการพิมพ์รายงานขนาดใหญ่

การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ข้อดี-ข้อเสีย ของสื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภท มีดังนี้
  -สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน (Unshield Twisted Pair)

ข้อดีของสาย UTP
- 
ราคาถูก 
- ติดตั้งง่ายเนื่องจากน้ำหนักเบา 
- มีความยืดหยุ่น และสามารถโค้งงอได้มาก
ข้อเสียของสาย UTP 
- 
ไม่เหมาะในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ห่างไกลมาก
   เพราะสัญญาณที่วิ่งบนสายจะถูกลดทอนลงไปตามความยาวของสาย
   (มีความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร)

  -สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน (Shield Twisted Pair)

ข้อดีของสาย STP 
- 
ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่า UTP 
- ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นวิทยุ 
ข้อเสียของสาย STP 
- มีขนาดใหญ่และไม่ค่อยยืดหยุ่นในการงอพับสายมากนัก 
- ราคาแพงกว่าสาย UTP

  -สายโคแอกเชียล (Coaxial)
                

                ข้อดี
-      ราคาถูก
-      มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
-      ติดตั้งง่ายและมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย
-      ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
-      ระยะทางจำกัด
  -ใยแก้วนำแสง (Optic Fiber)

ข้อดี

-      รองรับย่านความถี่ได้สูง (High Bandwidth)
-      การลดทอนของสัญญาณต่ำ (Low Noise)
-      การป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวน (Noise Immunity)
-      ขนาดเล็ก (Small Size)
-      น้ำหนักเบา (Light Weight)
-      ปลอดภัยจากไฟฟ้าลัดวงจร
(No Short Circuit, No Spark or Fire Hazard)
-      มีความปลอดภัยในการส่งข้อมูล (Transmission Security)
-      การปรับตัวเพื่อใช้งานในระบบ (Topology Compatibility)

ข้อเสีย

-      ราคาแพง (High Cost)
-      การติดตั้งต่อสายยุ่งยาก (Difficulty Taps)
-      มีความไม่เชื่อถือจากผู้ใช้เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่
(Fear of new technology)

ประโยชน์ของการนำระบบเครื่องข่ายมาใช้ในองค์กร
-       สะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูล
-       ได้ใช้ทรัพยากรร่วมกัน
-       ใช้โปรแกรมในการทำงานร่วมกัน
-       ทำงานประสานกันเป็นทีม
-       ติดต่อสื่อสารได้สะดวกรวดเร็ว
-       เรียกข้อมูลจากที่พักอาศัยได้

หากนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กร
                

จะเลือกแบบ Client-server เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์
ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือน ๆ กัน เท่าเทียมกัน
ภายในระบบเครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง
ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่าง ๆ
ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ ซึ่งอาจจะต้องเป็น
เครื่องที่มีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง ถึงจะทำให้การให้บริการ
มีประสิทธิภาพตามไปด้วย ข้อดีของระบบเครือข่าย Client – Server
เป็นระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงกว่า ระบบแบบ Peer To Peer
เพราะว่าการจัดการในด้านรักษาความปลอดภัยนั้น จะทำกันบนเครื่อง Server
เพียงเครื่องเดียว ทำให้ดูแลรักษาง่าย และสะดวก มีการกำหนดสิทธิ
การเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆให้กับเครื่องผู้ขอใช้บริการ หรือเครื่อง Client

อินเตอร์เน็ตมีข้อดีต่อการศึกษา คือ
                สามารถให้ผูเรียนติดต่อสื่อสารกับคนทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว
                และสามารถสืบค้นหรือเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศจากทั่วโลก
                จึงทำให้เกิดการเรียนรู้ตามอัธยาศัย การประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ต
                กับกิจกรรมตามหลักสูตรเดิมที่มีอยู่ ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในด้าน
-      การคิดอย่างมีระบบ (High-Order Thinking Skills)
-      การคิดเชิงวิเคราะห์ (Critical Thinking)
-      การวิเคราะห์สืบค้น (Inquiry-Based Analytical Skill)
การวิเคราะห์ข้อมูล การแก้ปัญหา และการคิดอย่างอิสระเป็นการสนับสนุน
กระบวนการสหสาขาวิชาการ (Interdisciplinary) คือ การนำเครือข่าย
มาเชื่อมโยงกับกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น ผู้ที่ศึกษาสามารถที่จะบูรณาการ
การเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เข้าด้วยกัน เมื่อนำอินเตอร์เน็ตมาใช้
ในการพัฒนาการศึกษาก็จะทำให้เกิดประโยชน์และสร้างความเท่าเทียมกัน
ในด้านการศึกษาได้มากยิ่งขึ้น